ผู้เขียน หัวข้อ: การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจมีอะไรบ้าง  (อ่าน 60 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 544
    • ดูรายละเอียด
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจมีอะไรบ้าง
« เมื่อ: วันที่ 15 พฤษภาคม 2024, 22:04:09 น. »
การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุโรคหัวใจเบื้องต้นจะเริ่มจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อช่วยให้ระบุได้ว่าเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่ นอกจากนี้แพทย์จะใช้การทดสอบสมรรถภาพของหัวใจด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ ดังนี้

1. การตรวจโรคหัวใจจากเลือด

การตรวจเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ (High-Sensitivity C-reactive protein: hs-CRP) เป็นการตรวจเพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โดยการตรวจหาระดับโปรตีน C-reactive Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ในเลือด หากเซลล์อักเสบอย่างต่อเนื่อง ระดับ CRP ก็จะสูงตาม ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้


2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

การตรวจคัดกรองโรคหัวใจด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (Electrocardiogram) เป็นการตรวจเพื่อให้ทราบว่า การทำงานของหัวใจยังสม่ำเสมอหรือไม่ และสามารถตรวจหาความเสี่ยงต่อโรคที่มีผลกับการทำงานของหัวใจได้ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG อาจไม่พบเจอโรคหากไม่มีอาการ อาจจะต้องพึ่งการตรวจด้วยรูปแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST) เป็นต้น


3. การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST)

การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) คล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยจะใช้แผ่นตะกั่วชุดหนึ่งแปะติดกับหน้าอก และมีการบันทึกขณะที่ออกกำลังกาย เช่น การเดินบนสายพาน หรือขี่จักรยานอยู่กับที่ โดยการทดสอบนี้ใช้วัดค่าการตอบสนองของหัวใจ เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในร่างกาย จำนวนเลือดที่ไหลไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกาย


4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นวิธีที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวของหัวใจ โดยจะศึกษาภาพเพื่อวัดและระบุถึงการทำงานและโครงสร้างของหัวใจ


5. การตรวจหัวใจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

การตรวจหัวใจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography หรือ CT Scan) เป็นวิธีการตรวจหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดของหัวใจว่า หัวใจมีความผิดปกติอื่น ๆ ของหลอดเลือดหัวใจบ้างหรือไม่ หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันหรือไม่ รวมถึงใช้เพื่อติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย


6. การสวนหลอดเลือดหัวใจ (CAG)

การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Angiography: CAG) คือการฉีดสารทึบรังสีเพื่อ X-ray ดูช่องทางเดินของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือที่เรียกกันว่าฉีดสีหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่า หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ-ตันหรือไม่ รวมถึงตรวจดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ การเปิด-ปิดของลิ้นหัวใจ และสามารถวัดความดันภายในหัวใจและส่วนต่าง ๆ ของหัวใจได้ หากพบว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน แพทย์สามารถรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจได้ทันที
 

                                                               
แนวทางการรักษาโรคหัวใจ

โรคหัวใจรักษาหายไหม? โรคหัวใจหากว่าตรวจคัดกรอง หรือตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาจะได้ผลดีตามลำดับ การรักษาโรคหัวใจตามปกติแล้วจะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ และรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นขณะนั้น เช่น การผ่าตัดหัวใจ หรือทำหัตถการต่าง ๆ ร่วมกับการทานยารักษาโรคหัวใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่
 

    รับประทานอาหารสุขภาพ ผักผลไม้ เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาลสูง รวมถึงอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล เพื่อช่วยลดการเกิดไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การไม่เคลื่อนไหวร่างกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
    งดสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง นอกจากนี้ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายมากกว่าคนปกติ และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหัน
     

2. การทานยารักษาโรคหัวใจ

ยารักษาโรคหัวใจ

ยารักษาโรคหัวใจ (Cardiac medication) คือยาที่ใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดปกติ ป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นต้น เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคไม่หายขาด จึงจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรคหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

3. การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ


การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้
 

1.    การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open Heart Surgery)

โดยทั่วไปหมายถึงการผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมช่วยในการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินหลอดเลือดหัวใจ หรือการทำบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีรูรั่วภายในหัวใจ ซึ่งวิธีการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดนี้จะมีแผลขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นการผ่าตัดมาตรฐาน สามารถผ่าตัดโรคหัวใจได้ทุกชนิด แต่มีข้อจำกัดคือ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังผ่าตัดได้ แต่ในปัจจุบันบางครั้งการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือการทำบายพาสหัวใจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงและเจ็บปวดน้อยน้อยลง รวมถึงแผลผ่าตัดก็เล็กลง
 

2.    การผ่าตัดหัวใจแบบปิด (Closed Heart Surgery)

การผ่าตัดหัวใจแบบปิดคือ การผ่าตัดโดยที่ไม่เปิดหัวใจ แต่ยังต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก ไม่ต้องใช้ปอดหัวใจเทียมช่วยระหว่างการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจโดยที่ไม่ได้เข้าไปผ่าตัดภายในหัวใจ


ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ข้อปฏิบัติตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ มีดังนี้
 

    หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง การควบคุมอาหารประเภทไขมัน จะช่วยลดและชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้
    เน้นรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เนื่องจากจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน รวมถึงยังช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่อีกด้วย
    ควบคุมน้ำหนักตัวให้ค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5 - 24.9 กก./ม2
    งดการสูบบุหรี่และลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
    ทำจิตใจให้ร่าเริง ลดความเครียด
    ขยับร่างกายให้หัวใจแข็งแรง เช่น ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น แต่ไม่ควรหักโหมมากจนเกินไป โดยออกต่อเนื่องกันประมาณ 30 นาที
    เข้ารับติดตามผลการรักษาโรคหัวใจ หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพตนเองอยู่เสมอ


การป้องกันโรคหัวใจ ทำอย่างไร

การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

แนวทางการป้องกันตนเอง และช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ มีดังต่อไปนี้
 

    ผ่อนคลายความเครียด
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
    งดการสูบบุหรี่
    ควบคุมความดันโลหิต
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ


การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจมีอะไรบ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252