ผู้เขียน หัวข้อ: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี  (อ่าน 84 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 543
    • ดูรายละเอียด
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
« เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม 2024, 14:40:07 น. »
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นมบุตร การจามหรือไอรดกัน การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน
 
เชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อเข้าไปในร่างกายจะแบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักจะมีอาการไม่มาก ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีตับอักเสบ โดยประมาณเกือบ 8% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีการติดเชื้อเรื้อรังและตามมาด้วยตับอักเสบแบบเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยมีอาการชัดเจน ผ่านไปประมาณ 10-30 ปีจึงเข้าสู่ระยะตับแข็ง และอีกสิบปีต่อมาจึงถึงระยะท้ายของโรคตับแข็ง เมื่อมีโรคตับแข็งเกิดขึ้นจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 1-3% ต่อปี (ใน 100 คนที่เป็นโรคตับแข็งจากไวรัสซี ถ้าติดตามไป 1 ปีจะมี 3 คนเป็นมะเร็งตับ)

ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซีแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ในประเทศไทยพบชนิดที่ 1 และ 3 พอๆ กัน คือชนิดละ 40% รองลงไปจะเป็นชนิดที่ 2 ส่วนชนิดที่ 4, 5 และ 6 นั้นพบน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจว่าไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นนั้นเป็นชนิดอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่อไป เนื่องจากการรักษาไวรัสแต่ละชนิดมีความยากง่ายแตกต่างกัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีและควรได้รับการทดสอบหาเชื้อ

    ผู้ที่เคยได้รับเลือดและสารเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
    ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปี พ.ศ.2535
    ผู้ที่มีการฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด ถึงแม้ว่าทดลองใช้เพียงครั้งเดียว
    ผู้ป่วยโรคเอดส์
    ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
    ผู้ที่มีผลเลือดการทำงานของตับพบการอักเสบ
    ผู้ที่ติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
    ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจากการทำฟัน
    ผู้ที่สำส่อนทางเพศหรือรักร่วมเพศ
    ผู้ที่มีการสักตามตัว การใช้เข็มที่ติดเชื้อโรคสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม
    ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
    บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มตำจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
    การใช้ของส่วนตัวที่เปื้อนเลือดร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือกรรไกรตัดเล็บ
    ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (ติดได้แต่พบน้อย)


ภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

    ตับอักเสบเฉียบพลัน หลังจากไวรัสตับอักเสบซีเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ แต่ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการ มีเพียงประมาณ 25-30% ของผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เรียกว่าดีซ่าน ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลัน
    ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมากกว่า 60% จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ จนเมื่อตับถูกทำลายไปมากพอควรหรือมีการอักเสบของตับมาก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
    ตับแข็ง ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบซีนั้น ตับจะมีอาการอักเสบและถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะกลายเป็นตับแข็ง ซึ่งถ้าเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมาก ดีซ่าน ท้องมาน และเกิดตับวายได้ในที่สุด
    มะเร็งตับ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้มากกว่าคนปกติ และมีรายงานว่าถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังอย่างถูกต้อง ก็สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งตับลงได้


การวินิจฉัย

    ตับอักเสบเฉียบพลัน: วินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบ และตรวจพบ anti-HCV หรือนับปริมาณไวรัสในเลือด บางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรกอาจต้องตรวจซ้ำอีก 2-8 สัปดาห์
    ตับอักเสบเรื้อรัง: วินิจฉัยจากการพบการอักเสบของตับมากกว่า 6 เดือนร่วมกับการตรวจพบไวรัสในกระแสเลือด

 
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี

โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมีอาการคล้ายๆ กัน คือ ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต การที่จะแยกว่าเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใดนั้น ต้องใช้วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจะทราบ แต่ที่น่าสังเกตคือโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดอื่นๆ มักจะเป็นแบบเฉียบพลัน และจะหายได้ภายในเวลา 6 เดือน ถ้าหากมีอาการของโรคตับอักเสบเรื้อรังก็มักจะเกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี
 
โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่หลังติดเชื้อแล้วภายในเวลา 10 ปีแรกจะไม่มีอาการอะไรเลย ยกเว้นส่วนน้อยที่อาจมีอาการของโรคแบบเฉียบพลัน ต่อเมื่อย่างเข้าสู่ 10 ปีที่ 2 ก็จะเริ่มมีอาการของตับอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้น และเมื่อ 30 ปีผ่านไป ตับจะถูกทำลายมากขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการของตับแข็งปรากฏให้เห็น แล้วผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็จะเป็นมะเร็งตับ เรียกว่ากว่าจะแสดงอาการก็ใช้เวลาหลายสิบปี โดยที่โรคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวเลยว่ามีโรคอันตรายซ่อนแฝงอยู่ถ้าไม่ได้ตรวจเลือด ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณ 15-20% อาจหายจากโรคได้เอง แต่ส่วนใหญ่ 75-85% จะเป็นเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด
 

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    ภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) เป็นภูมิที่บอกว่ามีหรือเคยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ถ้าให้ผลบวก แสดงว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมาก่อนโดยที่ขณะนี้อาจมีหรือไม่มีไวรัสอยู่ในเลือดก็ได้
    การนับปริมาณไวรัสโดยวิธี polymerase chain reaction (PCR) ถ้าให้ผลบวกแสดงว่ากำลังมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
    การตรวจการทำงานของตับเพื่อดูค่าการอักเสบของตับ (AST, ALT)
    การเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อการวินิจฉัย โดยจะทำในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น


ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบซี

    ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 1 ต้องรักษาเป็นเวลา 1 ปี โอกาสหายประมาณ 50% ระหว่างการรักษา 1 และ 3 เดือน ควรตรวจนับปริมาณไวรัสซ้ำเพื่อดูการตอบสนองและวางแผนการรักษาว่าจะหยุดยารักษาที่ 1 ปีหรือนานกว่านั้น หรือบางกรณีถ้ามีภาวะแทรกซ้อนมาก ในกรณีที่ตรวจไม่พบเชื้อตั้งแต่เดือนแรกและทนยาไม่ได้ก็อาจจะร่นเวลาการรักษาลงมาอีก ผู้ป่วยเมื่อได้ยาครบ 1 ปี ก็ต้องตรวจเชื้อว่ายังมีหลงเหลือหรือไม่ หลังเสร็จสิ้นการรักษาไปอีก 6 เดือน ถ้าตรวจไม่พบเชื้อในเลือดด้วยวิธี RT-PCR ก็บ่งว่าโรคหายและโอกาสกลับมาเป็นใหม่ค่อนข้างน้อย
    ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 2 และ 3 ให้การรักษาเป็นเวลา 6 เดือน โอกาสการหายสูงประมาณ 70-80% เมื่อให้การรักษาครบจะตรวจเชื้อซ้ำว่ามีเชื้อหลงเหลือหรือไม่ จากนั้นจะติดตามตรวจเชื้อด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้งตอน 6 เดือนหลังหยุดยา ถ้าหายตอนนี้ก็เรียกว่าโรคหาย โอกาสกลับเป็นซ้ำนั้นค่อนข้างน้อย
    ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 4, 5 และ 6 นั้นพบน้อยในประเทศไทย แนะนำให้รักษาเป็นเวลา 1 ปี


การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีบางรายเมื่อตรวจเลือดพบค่าการอักเสบของตับ แพทย์จะนัดตรวจเลือดอีกครั้ง 6-12 เดือน แต่เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีไม่ควรเจาะเลือดก่อนอายุ 12 เดือนเนื่องจากเชื้อจากแม่ยังไม่หมด แนะนำให้ตรวจ anti-HCV เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะพิจารณาตามภาวะของโรคและโรคร่วมต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็น
 

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/177

xarari

  • บุคคลทั่วไป
Re: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 2 เมษายน 2024, 16:15:12 น. »

xarari

  • บุคคลทั่วไป
Re: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 2 พฤษภาคม 2024, 03:16:35 น. »
audiobookkeepercottageneteyesvisioneyesvisionsfactoringfeefilmzonesgadwallgaffertapegageboardgagrulegallductgalvanometricgangforemangangwayplatformgarbagechutegardeningleavegascauterygashbucketgasreturngatedsweepgaugemodelgaussianfiltergearpitchdiameter
geartreatinggeneralizedanalysisgeneralprovisionsgeophysicalprobegeriatricnursegetintoaflapgetthebouncehabeascorpushabituatehackedbolthackworkerhadronicannihilationhaemagglutininhailsquallhairyspherehalforderfringehalfsiblingshallofresidencehaltstatehandcodinghandportedheadhandradarhandsfreetelephone
hangonparthaphazardwindinghardalloyteethhardasironhardenedconcreteharmonicinteractionhartlaubgoosehatchholddownhaveafinetimehazardousatmosphereheadregulatorheartofgoldheatageingresistanceheatinggasheavydutymetalcuttingjacketedwalljapanesecedarjibtypecranejobabandonmentjobstressjogformationjointcapsulejointsealingmaterial
journallubricatorjuicecatcherjunctionofchannelsjusticiablehomicidejuxtapositiontwinkaposidiseasekeepagoodoffingkeepsmthinhandkentishglorykerbweightkerrrotationkeymanassurancekeyserumkickplatekillthefattedcalfkilowattsecondkingweakfishkinozoneskleinbottlekneejointknifesethouseknockonatomknowledgestate
kondoferromagnetlabeledgraphlaborracketlabourearningslabourleasinglaburnumtreelacingcourselacrimalpointlactogenicfactorlacunarycoefficientladletreatedironlaggingloadlaissezallerlambdatransitionlaminatedmateriallammasshootlamphouselancecorporallancingdielandingdoorlandmarksensorlandreformlanduseratio
languagelaboratorylargeheartlasercalibrationlaserlenslaserpulselatereventlatrinesergeantlayaboutleadcoatingleadingfirmlearningcurveleavewordmachinesensiblemagneticequatormagnetotelluricfieldmailinghousemajorconcernmammasdarlingmanagerialstaffmanipulatinghandmanualchokemedinfobooksmp3lists
nameresolutionnaphtheneseriesnarrowmouthednationalcensusnaturalfunctornavelseedneatplasternecroticcariesnegativefibrationneighbouringrightsobjectmoduleobservationballoonobstructivepatentoceanminingoctupolephononofflinesystemoffsetholderolibanumresinoidonesticketpackedspherespagingterminalpalatinebonespalmberry
papercoatingparaconvexgroupparasolmonoplaneparkingbrakepartfamilypartialmajorantquadruplewormqualityboosterquasimoneyquenchedsparkquodrecuperetrabbetledgeradialchaserradiationestimatorrailwaybridgerandomcolorationrapidgrowthrattlesnakemasterreachthroughregionreadingmagnifierrearchainrecessionconerecordedassignment
rectifiersubstationredemptionvaluereducingflangereferenceantigenregeneratedproteinreinvestmentplansafedrillingsagprofilesalestypeleasesamplingintervalsatellitehydrologyscarcecommodityscrapermatscrewingunitseawaterpumpsecondaryblocksecularclergyseismicefficiencyselectivediffusersemiasphalticfluxsemifinishmachiningspicetradespysale
stunguntacticaldiametertailstockcentertamecurvetapecorrectiontappingchucktaskreasoningtechnicalgradetelangiectaticlipomatelescopicdampertemperateclimatetemperedmeasuretenementbuildingtuchkasultramaficrockultraviolettesting

xarari

  • บุคคลทั่วไป
Re: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 2 กรกฎาคม 2024, 02:12:31 น. »