ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: แนวทางการตรวจเช็คหารอยรั่วน้ำยาแอร์  (อ่าน 51 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 474
    • ดูรายละเอียด
ซ่อมบำรุงอาคาร: แนวทางการตรวจเช็คหารอยรั่วน้ำยาแอร์

กรณีแอร์ไม่เย็นที่เกิดจากสาเหตุปัญหาของน้ำยาแอร์นั้น  อาจเกิดเนื่องจากสาเหตุของน้ำยาแอร์น้อยหรือไม่เพียงพอ  ปัญหานี้หากเกิดบ่อยครั้งหรือเกิดเร็วขึ้นภายในไม่กี่วันแล้ว ให้ตั้งข้อสังเกตุเลยว่า มีบางส่วนของน้ำยาแอร์หายไหรือสูญเสียในระบบอย่างรวดเร็ว  ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอาการผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากมีการรั่วของน้ำยาแอร์แน่นอน  ดังนั้น จึงต้องทำการตควจเช็คหารอยรั่วให้เจอเสียก่อนแล้วทำการซ่อมหรือปรับเปลี่ยนก่อนการเติมน้ำยาแอร์ให้ระบบอีกครั้ง

ในการแนวทางการตรวจเช็คหารอยรั่วของน้ำยาแอร์ มีดังนี้

1.  ทำการเติมสารทำความเย็นเข้าระบบเล็กน้อย  พร้อมทั้งเติมก๊าซไนโตรเจนแรงดันสูงจากถึงไนโจรเจนเข้าสู่วงจรสารทำความเย็นที่แรงดันประมาณ  350 - 400 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  (23 - 27 เท่าของความดันบรรยากาศ  เพื่ออาศัยแรงดันจากก๊าซไรโตรเจนช่วยในการตรวจหารอยรั่ว  โดยไม่ต้องใช้น้ำยาแอร์ให้สิ้นเปลืองโดยเปล่า

2. การตรวจหารอยรั่ว ควรเพิ่มแรงดันของก๊าซไนโตรเจนให้ได้ตามคำแนะนำหรืออาจต่ำกว่านี้  แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราะจะทำให้ระบบท่อสารทำความเย็นไม่สามารถรับแรงดันได้  และห้ามเติมก๊าซออกซิเจนเข้าไปในระบบโดยเด็ดขาด  เพราะอาจทำให้เกิดการติดไฟหากมีประกายไฟรอบข้างเพราะก๊าซไตโตรเจนสามารถระเบิดได้เมื่อผสมกับอากาศ และมีเชื้อไฟ


3. การตรวจสอบรอยรั่วสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
   
- ใช้เครื่องตรวจสอบรอยรั่วแบบฮาไลด์ทอร์จโดยทำเครื่องตรวจสอบรอยรั่วไล่ตามท่อ  รอยต่อหรือชิ้นส่วนต่างๆ ถ้าตรวจพบการรั่วของสารทำความเย็นตามรอยต่อต่างๆ ของระบบท่อสารทำความเย็นเปลวไฟในกระบอกฮาไลด์ทอร์จจะเปลี่ยนสี
   
-  ใช้เครื่องตรวจสอบรอยรั่วแบบอีเล็กทรอนิกส์  โดยทำเครื่องตรวจสอบรอยรั่วไล่ตามท่อ  รอยต่อหรือิ้นส่วนต่างๆ ถ้าตรวจพบกระรั่วของสารทำความเย็นตามรอยต่อต่างๆ ของระบบท่อสารทำความเย็น สารทำความเย็นจะทำให้กระดิ่งที่ตัวเครื่องตรวจสอบรอยรั่วแบบอิเล็กทรอนิกส์ เกิดเสียงดัง
   
-  วิธีตรวจสอบรอยรั่วระบบท่อสารทำความเย็นโดยใช้ฟองสบู่ ทำได้โดยใช้ฟองน้ำหรือแปรงทาสีจุ่มในน้ำผสมน้ำยาล้างจานหรือสบู่ที่ทำให้เกิด ฟองทาบริเวณผิวของท่อน้ำยาแอร์ทั้งหมด  โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อแล้วสังเกตุดูว่ามีการรั่วซึมเกิดเป็นฟองฟุดๆ หรือไม่  ถ้ามีการรั่วซึมบริเวณนั้นให้ทำการแก้ไขหลังตรวจเช็ค  เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ทิ้งระบบไว้สักพักประมาณ 2 - 3 ชั่วโมงขึ้นกับขนาดของแอร์  เพื่อตรวจสอบความดันที่อัดไว้จะลดลงหรือไม่ถ้าความดันลดลงแสดงว่าท่อน้ำยาแอร์ไม่มีรูรั่ว  หากความดันลดลงแสดงว่ามีรอยรั่วอยู่ ให้ใช้น้ำสบู่หารอยรั่วใหม่  ซึ่งวิธีการนี้ต้องใ้ประสอบการณ์ของช่างติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เคยทำงานมาก่อน  เพราะบางครั้งรอยรั่วอาจมีขนาดเล็กไม่สามารถสังเกตุได้ด้วยฟองสบู่และวิธีนี้สามารถใช้ได้ผลดีหากระบบท่อมีรูรั่วมากจึงจะสามารถตรวจพบรอยรั่วได้
   
-  วิธีตรวจสอบรอยรั่วด้วยการฟังเสียง วิธีนี้ให้ใช้การฟังหลังการอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าในระบบท่อแล้ว  หากมีเสียงลมแสดงว่ามีรูรั่ว  ท้้งนี้ให้ตรวจสอบร่วมกับการตรวจสอบแรงดันของท่อด้วยเพื่อเพิ่มความชัดเจนวิธีการนี้สามารถใช้ได้ผลหากรูรั่วมีขนาดใหญ่หรือแรงดันในท่อเพียงพอต่อการทดสอบ