"รีไฟแนนซ์บ้าน" ดี-ไม่ดี ยังไง?...มาดูกัน!!การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คือการเปลี่ยนเจ้าหนี้ จากผู้ให้สินเชื่อเดิมเพื่อไปขอกู้จากผู้ให้สินเชื่อรายอื่นแทน เหตุผลที่คนส่วนใหญ่มักรีไฟแนนซ์คือ ผู้ให้สินเชื่อรายใหม่เสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า หรือมีเงื่อนไขด้านอื่นๆ ที่จูงใจกว่าที่เดิม เช่น ให้เวลาผ่อนชำระยาวนานกว่า
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ คือ ความคุ้มค่า
โดยเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงว่าจะช่วยให้เราประหยัดได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์หรือไม่ เช่น
ค่าจดจำนองหลักประกัน
ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน
ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เก่า ในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
ตัวอย่างการประมาณการเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ เพื่อประเมินเบื้องต้น ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์
ตัวอย่าง นาย ก ได้กู้เงินซื้อบ้านจากธนาคาร A เป็นเงิน 2,200,000 บาท โดยกู้มาแล้ว 2 ปี ขณะที่เงินต้นคงเหลือ 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่เดิมคือ 7% โดยนาย ก กำลังตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคาร B ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ให้สันนิษฐานว่าหลังจากหมดโปรโมชั่นแล้ว จะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเดิม) แต่นาย ก ต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 3% ของยอดคงค้าง เพราะเพิ่งจะกู้ไม่ถึง 3 ปี
เมื่อคำนวณแล้ว การรีไฟแนนซ์ตามตัวอย่างนี้จะประหยัดเงินได้ประมาณ 240,000 - 84,000 = 156,000 บาท (ดูรายละเอียดในตารางด้านล่างนี้นะคะ)
หากพบว่าต้องเสียเวลาในการดำเนินการมาก แต่ช่วยประหยัดเงินได้นิดเดียว การใช้บริการผู้ให้สินเชื่อเดิมก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้* ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์*
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ x จำนวนปีที่ได้โปรโมชั่น
อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้สถาบันการเงินเดิม - อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่จะรีไฟแนนซ์
จำนวนปีที่ได้โปรโมชั่น = จำนวนปีที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินเดิม
จากตัวอย่าง คำนวณได้ดังนี้
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ (ประมาณ)
= 2,000,000 x (7 - 3)/100 x 3 = 240,000 บาท
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ (ประมาณ)
= 2,000,000 x (7 - 3)/100 x 3 = 240,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ
ค่าจดจำนองหลักประกัน (1% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท)
ค่าอากรแสตมป์ (0.05% ของวงเงินกู้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท)
ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินแห่งใหม่
ค่าประเมินหลักประกัน
ค่าปรับที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินเดิม
เช่น ถ้าผ่อนส่งยังไม่ครบจำนวนปีที่กำหนดก็จะต้องจ่ายค่าปรับ เช่น 3% จากเงินต้นคงค้าง ทั้งนี้ แต่ละสถาบันการเงินอาจกำหนดค่าใช้จ่าย และค่าปรับไว้แตกต่างกัน เราจึงต้องสอบถาม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
จากตัวอย่าง คำนวณได้ดังนี้
ค่าจดจำนองบ้าน = 20,000 บาท (2,000,000 x 1 / 100)
ค่าอากรแสตมป์ = 1,000 บาท (2,000,000 x 0.05 / 100)
ค่าประเมินหลักประกัน (ประมาณ = 3,000 บาท
ค่าปรับ = 60,000 บาท (2,000,000 x 3 / 100)
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น = 84,000 บาท