ในยุคที่หลายคนเริ่มอยากมีธุรกิจเป็นของตนเองการสร้างแบรนด์สินค้าจึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นซึ่งต้องใช้อาศัยทั้งระยะเวลา ประสบการณ์ การศึกษา ทดลองและทุ่มความพยายามพอสมควรเพราะคงไม่มีใครก็ได้ที่ทำแล้วสำเร็จเลย แต่ก็สำเร็จได้แค่ลองเปิดใจ รับฟังโดยเราได้รวมทริคดี ๆ กลยุทธ์เด็ด ๆ ที่จะเข้ามามีส่วนเสริมพลิกแบรนด์ให้ดัง ยอดขายปัง บนโลกออนไลน์
9 เทรนด์การสร้างแบรนด์มาแรงแห่งปี 2023
ก่อนจะไปรู้จักวิธีสร้างแบรนด์ก็ต้องมาทำความเข้าใจเทรนด์ปัจจุบันกันก่อนว่าเทรนด์ไหนกำลังมาแรงซึ่งในปี 2023 ได้สรุป 9 เทรนด์การสร้างแบรนด์สุดฮอต ดังนี้
1. Daring Nostalgia ที่ผ่านมาจะเห็นสไตล์มินิมัลลิสต์ได้ถูกมาใช้ออกแบบสร้างแบรนด์กันซึ่งจะพาย้อนความคิดถึงไปกับสไตล์ 60s 90s หรือ Y2K ในรูปแบบมาสคอต ขี้เล่น สดใส โทนสีพาสเทล ตัวหนังสือหนาและลูกเล่นเยอะ ๆ ที่สื่อถึงความมีชีวิตชีวา
2. Powerful Use of Color การใช้ “สี” นับเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยเพิ่มการจดจำ ยกตัวอย่างการสร้างแบรนด์ของ McDonald ที่เน้นใช้โทนสีแดง สีเหลืองซึ่งเมื่อพบเห็นจะจดได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ใด หรือone.two.free แบรนด์เครื่องสำอางที่ใช้ชสีชมพูอ่อน หรือ Pull Noodles เน้นใช้แบรนด์สีสันสดใสเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
3. Pushing Design Boundaries จะสร้างความสนุกสดใสในรูปแบบที่แตกต่างทั้งสีสันสดใส รูปทรงบิดเบี้ยว ขนาด ภาพ ตัวอักษร สี หรือการวางตำแหน่งที่ดูไม่เข้ากันแต่กลับสร้างความรู้สึกแปลกใหม่แก่ผู้ที่พบเห็น เช่น บรรจุภัณฑ์แบรนด์ขนมและไอติมอาติซาน Nice Lab
4. New Eco การออกเน้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามเทรนด์ตลาดซึ่งจะมีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ และมุ่งเน้นไปสู่อนาคตซึ่งไม่ได้มีแค่เอิรธโทน แต่จะเน้นสีที่ให้ความรู้สึกเรียบง่ายและใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
5. Animated Logos เพราะการใช้ภาพเคลื่อนไหวช่วยในการสื่อสารได้มากกว่าอย่าง Google ที่ให้ทุกการเคลื่อนไหวสื่อถึงรูปแบบบริการอันยอดเยี่ยมของ Search Engine ได้อย่างมีสไตล์ โดดเด่นและทรงพลัง
6. Statement Typography จะเน้นการเพิ่มน้ำหนักให้คำพูดของแบรนด์ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอักษรที่แปลกใหม่พ่วงมาด้วยการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ อาทิ แบรนด์หนังสือ Big Type ที่เน้นใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ สีสดเพื่อเน้นย้ำชื่อเรื่องดึงดูดผู้อ่าน
7. Humanized Brands เน้นการให้ความรู้สึกเหมือนมนุษย์คนหนึ่งซึ่งจะยิ่งให้ความรู้สึกเป็นมิตร ให้ความรู้สึกถึงการแบรนด์ที่เข้าถึงได้และมีเบื้องหลังที่เรียบง่ายหรือ GoDaddy ที่ชูประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศด้านรายได้
8. Pop Culture Influence เป็นการสร้างแบรนด์โดยอาศัยกระแสวัฒนธรรมป๊อบที่ได้รับความนิยมจากคนหมู่มากจากการเข้ามาของ TikTok หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่เน้นการออกแบบให้เป็นไปตามเทรนด์มากยิ่งขึ้น เช่น แคมเปญโฆษณาเครื่องดื่ม Pepsi และ Heineken ที่อิงาจากซีรีย์ดังอย่าง Squid Game
9. Retro Collage จะเป็นย้อนกลิ่นอายด้วยการออกแบบกราฟฟิกสไตล์ย้อนยุค หรือเป็นรอยฉีกของรูปภาพและอักษรตัวหนา ๆ จากยุคเรโทรที่ทำให้เนื้อหามีชีวิตชีวาช่วยสร้างความแปลกใหม่แก่ผู้บริโภค
ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ (Branding) ต่อธุรกิจ
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ หากบริษัทฯไหนสร้างแบรนด์ได้แข็งแรง กลายเป็นที่รู้จักของคุณหมู่มาก และขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพจะยิ่งได้รับความเชื่อมั่น
- สร้างฐานลูกค้าประจำ หากสร้างแบรนด์ได้จนมีฐานลูกค้าประจำจะยิ่งช่วยให้แบรนด์ทำการตลาดได้ง่ายและคาดการณ์แนวโน้มยอดขายแต่ละไตรมาสได้ค่อนข้างชัด
- ของดีได้รับการบอกต่อ หากสินค้าดี บริการเยี่ยม ใส่ใจลูกค้าจนเกิดความประทับใจลูกค้าจะเริ่มบอกต่อ แนะนำให้คนอื่น ๆ มาซื้อสินค้าทำให้ช่วยขยายตลาดได้ดีขึ้น
- สร้างการดำเนินธุรกิจได้ในระยะยาว เมื่อเริ่มทำธุรกิจไปสักระยะจนเป็นที่รู้จัก ก็ยังจำเป็นต้องรักษาคุณภาพให้ดีมีประสิทธิภาพเพราะแบรนด์อยู่ในตลาดมานานจะยิ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าและการันตีคุณภาพให้ซื้อขายดำเนินธุรกิจกันได้ยาว ๆ
8 กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ควรเน้นในปี 2023
ทิ้งท้ายด้วย 8 กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ควรเน้นในปี 2023 เพื่อช่วยตอบโจทย์ลูกค้า เพิ่มความมั่นคง สร้างความยั่งยืนให้กับแบรนด์ในระยะยาว
1. ศึกษาคู่แข่งของแบรนด์ “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” – คำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้เสมอ ก่อนจะวางทิศทางการนำเสนอแบรนด์ อย่าลืมศึกษาทิศทางคู่แข่งที่ขายสินค้าและบริการว่าสิ่งใดควรคล้าย สิ่งใดควรแตกต่างออกไป รวมถึงการศึกษาจุดแข็งจุดอ่อนเพื่อนำมาคิดกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์และสร้างความโดดเด่นให้แก่แบรนด์
2. รู้จักกลุ่มเป้าหมาย ต่อมาก็ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายว่าลูกค้าของคุณคือใครซึ่งอาจจะเริ่มวิเคราะห์จากธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกันโดยรวบรวมข้อมูลว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร เพศไหน อายุเท่าไร่ อาศัยอยู่พื้นที่ไหน วิถีชีวิตเป็นอย่างไรเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อแล้วนำมาวางกลยุทธ์ในการสื่อสารออกไปอย่างไรให้ถูกกลุ่มและถูกช่องทาง
3. ออกแบบบุคลิกและสร้างอัตลักษณ์ให้แก่แบรนด์ โดยเปรียบแบรนด์ของคุณเป็นคนหนึ่งคน หากสร้างคนขึ้นมาใหม่ได้หนึ่งคน คุณอยากให้เขามีบุคลิกภาพแบบไหนจากนั้นค่อยมาทำให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยการสื่อสารออกเป็น “อัตลักษณ์ของแบรนด์” ผ่านโลโก้ สี รูปแบบตัวอักษร รวมถึงการถ่ายทอดผ่านสิ่งอื่น ๆ อาทิ การตอบโต้แบบบอตแชท หรือแอดมิน การนำเสนอคอนเทนต์และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุ
4. สร้างคาแรคเตอร์ให้เข้าถึงง่าย นอกจากการสร้างอัตลักษณ์และบุคลิกของแบรนด์แล้ว การสร้างคาแรคเตอร์ของแบรนด์ให้เข้าถึงง่ายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบคอนเทนต์ในการสื่อสาร หรือการให้คำตอบ บอกข้อมูล เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าแบรนด์ของคุณเป็นมิตร กล้ามถาม และปรึกษาเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ จะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจและเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น
5. สื่อสารโดยใช้ Brand Marketing โดยอาศัยการวิเคราะห์จากเพศ วัย พฤติกรรมและการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สามารถเลือกทำคอนเทนต์ในหัวข้อที่ตรงกับพวกเขาสนใจและเลือกช่องทางลงบนสื่อโซเชียลมีเดียได้ตรงกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่นกลุ่ม 15-30 ปี คอนเทนต์จะเน้นเทรนด์ตามกระแส เน้นคลิปวีดิโอสั้นบน TikTok หรือ Reel บน Instragarm
6. มีจุดยืนของแบรนด์ เพราะหากผ่านการทำแบรนด์ไปสักพักจะพบกับกระแสนิยมมากมายที่ทำให้แต่ละแบรนด์เริ่มหันเหไปทางเดียวกันเพื่อทันตามกระแสและดึงดูดคนที่ชอบชื่นเทรนด์นั้นเข้ามาได้ เช่น หากคุณเน้นขายความ Luxury แต่ทำคอนเทนต์หลากหลายไม่มีทิศทางทั้งขายอาหาร ทั้งขายกระแสจนทำให้ลูกค้าสับสนจนไม่รู้ว่าแบรนด์ขายอะไร
7. หมั่นฟังเสียงจากผู้บริโภค อีกหนึ่งตัวอย่างการสร้างแบรนด์ที่ดีอย่างมีคุณภาพ คือ ต้องรู้จักรับฟังเสียงของผู้บริโภค ซึ่งการรับฟังในที่นี้ไม่ใช่แค่การสัมภาษณ์ต่อหน้า แต่เป็นการติดตามในช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็น คำติชมที่เกิดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ
8. ติดตามและตรวจสอบเป็นประจำ การหมั่นติดตามวัดผลและตรวจสอบอยูเสมอจะช่วยในการหาทางปรับปรุงแบรนด์ให้สอดคล้องมันรับกับสถานการณ์อยู่สม่ำเสมอซึ่งอาจจะอาศัยการใช้เครื่องมือวัดผลธุรกิจ เช่น Meta Business Suite, Google Analytics หรือการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Feedback ของลูกค้า รวมถึงการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคแบบอื่น
รวมทริค! การสร้างแบรนด์ให้ดัง ยอดขายปัง บนโลกออนไลน์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/